เมนู

อรรถกถามหาเปสการเปติวัตถุที่ 9



เมื่อพระศาสดาประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี ทรงปรารภ
นางเปรตผู้เป็นช่างหูกคนหนึ่ง จึงตรัสคำนี้มีคำเริ่มต้นว่า คูถญฺจ
มุตฺตํ รุธิรญฺจ ปุพฺพํ
ดังนี้.
ได้ยินว่า ภิกษุประมาณ 12 รูป เรียนพระกรรมฐาน
ในสำนักพระศาสดา พิจารณาถึงสถานที่อันเหมาะสมแก่การอยู่
เมื่อจวนจะเข้าพรรษา เห็นราวป่าอันน่ารื่นรมย์ สมบูรณ์ด้วย
ร่มเงาและน้ำแห่งหนึ่ง ละโคจรคามไม่ไกลนัก ไม่ใกล้นักแต่ราวป่า
นั้น จึงอยู่ในที่นั้นราตรีหนึ่ง รุ่งขึ้นจึงเที่ยวไปบิณฑบาตยังบ้าน.
ช่างหูก 11 คน อาศัยอยู่ในบ้านนั้น เห็นเหล่าภิกษุนั้น ๆ เกิดความ
โสมนัส จึงนำมายังเรือนของตน ๆ เลี้ยงดูด้วยอาหารอันประณีต
แล้วเรียนว่า ไปไหนกันขอรับ. ภิกษุเหล่านั้นกล่าวว่า เราจักไป
ในที่ที่เรามีความสบาย. พวกช่างหูกพากันกล่าวว่า ท่านขอรับ
ถ้าเมื่อเป็นเช่นนั้น ขอพระคุณเจ้าจงอยู่ที่นี้แหละ ดังนี้แล้ว จึง
ขอร้องให้อยู่จำพรรษา. ภิกษุทั้งหลายก็รับคำ. อุบาสกอุบาสิกา
ทั้งหลายได้พากันสร้างกระท่อมในป่าในที่นั้นแล้วมอบถวายแก่
ภิกษุเหล่านั้น. ภิกษุทั้งหลายจำพรรษาในที่นั้นแล้ว.

บรรดาช่างหูกเหล่านั้น ช่างหูกผู้เป็นหัวหน้า อุปัฏฐากภิกษุ
2 รูป ด้วยปัจจัย 4 โดยเคารพ นอกนั้นได้อุปัฏฐากภิกษุคนละรูป.
ภรรยาของช่างหูกผู้เป็นหัวหน้า ไม่มีศรัทธา ไม่มีความเลื่อมใส
เป็นมิจฉาทิฏฐิ มีความตระหนี่ ไม่อุปัฏฐากภิกษุทั้งหลายโดย
เคารพ. ช่างหูกผู้เป็นหัวหน้าเห็นดังนั้น จึงนำน้องสาวของภรรยา
นั้นนั่นแลมาแล้วมอบความเป็นใหญ่ในเรือนของตน. น้องสาวนั้น
เป็นผู้มีศรัทธา มีความเลื่อมใส ปรนนิบัติภิกษุทั้งหลายโดยเคารพ
ช่างหูกทั้งหมดนั้นได้ถวายผ้าสาฎกแก่ภิกษุผู้อยู่จำพรรษารูปละผืน.
ในบรรดาภรรยานั้น ภรรยาของช่างหูกผู้เป็นหัวหน้า ผู้มีความ
ตระหนี่ มีจิตคิดประทุษร้าย ด่าบริภาษสามีของตนว่า ทานคือ
ข้าวและน้ำที่ท่านให้แก่สมณะศากยบุตรนั้น จงบังเกิดเป็นคูถ มูตร
เป็นหนอง และโลหิต แก่ท่านในปรโลก และผ้าสาฎกจงเป็น
แผ่นเหล็กลุกโพลง
สมัยต่อมา บรรดาคนเหล่านั้น ช่างหูกผู้เป็นหัวหน้าทำกาละ
แล้วบังเกิดเป็นรุกขเทวดาถึงพร้อมด้วยอานุภาพ ในดงไฟไหม้
แต่ภรรยาผู้ตระหนี่ของเขา ทำกาละแล้วบังเกิดเป็นนางเปรต
ในที่ไม่ไกลแต่ที่อยู่ของรุกขเทวดานั้นนั่นเอง นางเป็นคนเปลือย
รูปร่างขี้เหร่ ถูกความหิวกระหายครอบงำ ไปยังสำนักของภุมมเทพ
นั้นแล้วกล่าวว่า นาย ฉันไม่มีผ้า ถูกความหิวและความกระหาย
ครอบงำอย่างเหลือเกินเที่ยวไป ท่านจงให้ผ้า ข้าว และน้ำ ก็ฉันเถิด.

ภุมมเทพจึงน้อมข้าวและน้ำอันเป็นทิพย์อย่างยิ่งเข้าไปให้นางเปรตนั้น
กลายเป็นคูถและมูตร หนอง ละโลหิต ผ้าสาฎกที่ให้ไป พอนางนุ่งห่ม
ก็กลายเป็นแผ่นเหล็กลุกโซน นางเสวยทุกข์อย่างมหันต์ ทิ้งผ้านั้น
คร่ำครวญเที่ยวไป.
ก็สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งออกพรรษาแล้ว เดินไปเพื่อจะเฝ้า
พระศาสดา ดำเนินไปถึงดงไฟไหม้ พร้อมกับที่เกวียนหมู่ใหญ่.
ในราตรี พวกหมู่เกวียนเดินทางไป เวลากลางวันเห็นประเทศ
แห่งหนึ่งสมบูรณ์ด้วยร่มเงาอันสนิทและน้ำในป่า จึงปลดเกวียน
แล้วพักอยู่ครู่หนึ่ง. ฝ่ายภิกษุหลีกไปหน่อยหนึ่ง เพราะใคร่ต่อ
ความวิเวก ปูสังฆาฏิลงที่โคนไม้อันปิดบังด้วยพงป่า มีร่มเงาสนิท
ต้นหนึ่งแล้วนอน มีร่างกายอ่อนเพลียเพราะเหน็จเหนื่อยในการ
เดินทางตอนกลางคืน จึงหลับไป. หมู่เกวียนครั้นพักแล้วก็เดินทาง
ต่อไป ภิกษุนั้นยังไม่ตื่น ครั้นเวลาเย็น เธอลุกขึ้นไม่เห็นพวกเกวียน
เหล่านั้น จึงเดินผิดทางไปสายหนึ่ง ถึงที่อยู่ของเทวดานั้นโดยลำดับ.
ลำดับนั้น เทพบุตรนั้นเหล่าภิกษุนั้นแล้ว แปลงเป็นรูปคนเข้าไปหา
กระทำปฏิสันถาร นิมนต์ให้เข้าไปยังวิมานของตน ถวายเภสัช
มียาทาเท้าเป็นต้น แล้วเข้าไปนั่งใกล้. ก็สมัยนั้น นางเปรตมา
กล่าวว่า นาย ท่านจงให้ข้าว น้ำ และผ้าสาฎกแก่ฉันเถิด. เทพบุตร
นั้นได้ให้ของเหล่านั้นแก่นางเปรตนั้น ก็ของเหล่านั้น พอนางเปรต
รับ ก็กลายเป็นคูถ มูตร หนอง เลือด และแผ่นเหล็ก อันลุกโชน

ทีเดียว. ภิกษุนั้นเห็นดังนั้น เกิดความสลดใจ จึงสอบถามเทพบุตร
นั้นด้วย 2 คาถาว่า
หญิงเปรตนี้กินคูถ มูตร เลือด และหนอง
นี้เป็นวิบากของกรรมอะไร หญิงเปรตนี้ เมื่อ
ก่อนได้กระทำกรรมอะไรไว้ จึงมีเลือดและ
หนองเป็นภักษาเป็นนิตย์. ผ้าใหม่สวยงามอ่อน
นุ่ม บริสุทธิ์ มีขนอ่อนอันท่านให้แก่หญิงเปรตนี้
ย่อมกลายเป็นเหล็กไป เมื่อก่อน หญิงเปรตนี้ได้
กระทำกรรมอะไรไว้หนอ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กิสฺส อยํ วิปาโก ความว่า นี้เป็น
วิบากแห่งกรรมอะไร ที่หญิงเปรตเสวยอยู่ในบัดนี้. บทว่า อยํ นุ กึ
กมฺมมกาสิ นารี
ความว่า เมื่อก่อนหญิงนี้ได้กระทำกรรมอะไร
ไว้หนอ. บทว่า ยา สพฺพทา โลหิตปุพฺพภกฺขา ความว่า หญิงนี้
ย่อมกินคือบริโภคเลือดและหนองเท่านั้น ตลอดกาลทีเดียว. บทว่า
นวานิ แปลว่า ใหม่ คือ ปรากฏในขณะนั้นเอง. บทว่า สุภานิ
แปลว่า งาม คือ น่าดู. บทว่า มุทูนิ แปลว่า มีสัมผัสสบาย. บทว่า
สุทฺธานิ. แปลว่า มีวรรณะบริสุทธิ์. บทว่า โลมสานิ แปลว่า
มีขนอ่อน คือมีสัมผัสสบาย, อธิบายว่า ดี. บทว่า ทินฺนานิ มิสฺสา
กิตกา ภวนฺติ
ความว่า เป็นเช่นกับหนามที่เรียงราย คือ เป็นเช่น

กับแผ่นโลหะ อีกอย่างหนึ่ง ปาฐะว่า กีฏกา ภวนฺติ ดังนี้ก็มี
อธิบายว่า มีสีเหมือนตัวสัตว์กัดกิน.
เทพบุตรนั้นถูกภิกษุนั้นถามอย่างนี้ เมื่อจะประกาศกรรม
ที่นางเปรตทำในชาติก่อน จึงกล่าว 2 คาถาว่า :-
ท่านผู้เจริญ เมื่อก่อนหญิงเปรตนี้ได้เป็น
ภรรยาของข้าพเจ้า ไม่ให้ทาน มีความตระหนี่
เหนียวแน่น นางได้ด่าและบริภาษข้าพเจ้าผู้
กำลังให้ทานแก่สมณะพราหมณ์ทั้งหลายว่า
จงกินคูถ มูตร เลือด และหนองอันไม่สะอาด
ตลอดกาลทุกเมื่อ คูถ มูตร เลือด และหนองนั้น
จงเป็นอาหารของท่านในปรโลก แผ่นเหล็กจง
เป็นผ้าของท่าน นางนาเกิดในที่นี้ กินแต่คูถและ
มูตร เป็นต้นตลอดกาลนาน เพราะประพฤติชั่ว
เช่นนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อทายิกา ได้แก่ มีปกติไม่ให้ทาน
แม้อะไร ๆ แก่ใคร ๆ. บทว่า มจฺฉรินี กทริยา ความว่า ชื่อว่ามี
ความตระหนี่ เพราะชั้นแรกมีมลทิน คือความตระหนี่เป็นสภาวะ
และชื่อว่ามีความตระหนี่เหนียวแน่น เพราะมีการเสพคุ้นบ่อย ๆ
ซึ่งความตระหนี่นั้น. มีวาจาประกอบความว่า นางได้เป็นผู้มีความ
ตระหนี่ ด้วยความตระหนี่เหนียวแน่นนั้น. บัดนี้เทพบุตรเมื่อจะ

แสดงความที่นางเป็นผู้มีความตระหนี่นั้นนั่นแล จึงกล่าวคำมีอาทิว่า
สามํ ททนฺตํ. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อตาทิสํ ได้แก่ ประพฤติ
วจีทุจริต เป็นต้นตามที่กล่าวแล้วเห็นปานนั้น. บทว่า อิธาคตา
ได้แก่ มายังเปตโลกนี้ คือเข้าถึงอัตภาพแห่งเปรต. บทว่า
จิรรตฺตาย ขาทติ ได้แก่ เคี้ยวกินแต่คูถเท่านั้น ตลอดกาลนาน.
จริงอยู่ นางด่าโดยอาการใดผลก็เกิดโดยอาการนั้นเหมือนกัน
นางด่าเจาะจงผู้ใด จากผู้นั้นไป ก็ตกลงเบื้องบนตัวเหมือนอสนีบาต
ตกลงในที่สุด คือกระหม่อมในแผ่นดิน.
เทวบุตรนั้น ครั้นแสดงกรรมที่นางเปรตกระทำไว้ในชาติก่อน
อย่างนี้แล้ว จึงได้กล่าวกะภิกษุนั้นอีกว่า ท่านขอรับ ก็อุบายอะไร ๆ
ที่จะทำให้นางเปรตนี้พ้นจากเปตโลกมีอยู่หรือ. และเมื่อภิกษุนั้น
กล่าวว่ามีอยู่ จึงกล่าวว่า จงแสดงเถิด ขอรับ. ภิกษุกล่าวว่า ถ้า
ท่านถวายทานแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า และแก่พระอริยสงฆ์ หรือ
แก่ภิกษุรูปเดียวเท่านั้น แล้วอุทิศให้หางเปรตนี้ ทั้งนางเปรตนี้
ได้อนุโมทนาทานนั้น ด้วยอาการอย่างนี้ นางก็จะพ้นจากความทุกข์
นี้ไปได้. เทพบุตรได้ฟังดังนั้น จึงได้ถวายข้าวและน้ำอันประณีต
แก่ภิกษุนั้น แล้วให้ทักษิณานั้นอุทิศแก่นางเปรตนั้น. ทันใดนั้นเอง
นางเปรตนั้นมีใจอิ่มเอิบ มีอินทรีย์กระปรี้กระเปร่า ได้เป็นผู้อิ่ม
ด้วยอาหารอันเป็นทิพย์ เทพบุตรนั้นได้ถวายคู่ผ้าทิพย์ในมือของ
ภิกษุนั้นอุทิศพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วและอุทิศทักษิณานั้นแก่

นางเปรต ก็ในขณะนั้นนั่นเอง นางนุ่งผ้าทิพย์ ประดับเครื่องประดับ
อันเป็นทิพย์ พรั่งพร้อมด้วยสิ่งที่น่าปรารถนาทั้งปวง ได้เป็นผู้
มีส่วนเปรียบด้วยนางเทพอัปสร. และภิกษุนั้นก็ได้ถึงกรุงสาวัตถี
ในวันนั้นเอง ด้วยฤทธิ์ของเทพบุตรนั้น เข้าไปยังพระเชตวันแล้ว
เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้ว ได้ถวายคู้ผ้าสาฎก
นั้นแล้ว กราบทูลเรื่องนั้น. แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำ
เรื่องนั้นให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุ แสดงธรรมแก่บริษัทผู้ประชุมกัน
อยู่พร้อมแล้ว เทศนานั้นได้มีประโยชน์แก่มหาชนแล.
จบ อรรถกถามหาเปสการเปติวัตถุที่ 9

10. ขัลลาติยเปติวัตถุ



ว่าด้วยพ่อค้าให้ผ้าแก่นางเปรต



หัวหน้าพ่อค้าถามหญิงเปรตตนหนึ่งว่า
[95] ท่านเป็นใครหนออยู่ภายในวิมานนี้ ไม่
ออกจากวิมานเลย ก่อนนางผู้เจริญ เชิญท่าน
ออกมาเถิด ข้าพเจ้าจะขอดูท่านผู้ยืนอยู่ข้างนอก.

นางเวมานิกเปรตฟังคำถามดังนี้แล้ว จึงกล่าวว่า
ดิฉันเป็นหญิงเปลือยกาย มีแต่ผมปิดบังไว้
กระดากอายที่จะออกภายนอก ดิฉันได้ทำบุญ
ไว้น้อยนัก.

พ่อค้ากล่าวว่า
ดูก่อนนางผู้มีรูปงาม เอาเถอะ ข้าพเจ้า
จะให้ผ้าเนื้อดีแก่ท่าน เชิญท่านนุ่งผ้านี้ แล้วจง
ออกมาภายนอก เชิญออกมาภายนอกวิมานเถิด
ข้าพเจ้าจะขอดูท่านผู้ยืนอยู่ข้างนอก.

นางเวมานิกเปรตตอบว่า
ผ้านั้นถึงท่านจะให้ที่มือของดิฉันเอง ก็ไม่
สำเร็จแก่ดิฉัน ถ้าในหมู่ชนนี้มีอุบาสกผู้มีศรัทธา
เป็นสาวกของพระสัมมาสมพุทธเจ้า ขอท่านจง
ให้อุบาสกนั้นนุ่งห่มผ้าที่ท่านจะให้ดิฉัน แล้วอุทิศ